วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติของผู้นำทางวิชาการ



   กิจกรรมที่3

 
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ





ประวัติดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์






ข้อมูลส่วนตัว

 
                  : ชื่อสกุล นาย อาทิตย์ อุไรรัตน์
                  : วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481
                  : สัญชาติ ไทย
                  : สถานะภาพ แต่งงาน มีบุตร-ธิดา 3 คน
                  : ชื่อสกุลภรรยา นางบุญนำ อุไรรัตน์ 
                  : ที่อยู่ 73 ซอยอารีสัมพันธ์ 2 กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
          การศึกษาและคุณวุฒิ

: : รัฐศาสตร์ สาขาการทูตและการต่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: : มหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University, Massachusetts U.S.A.
: : มหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจจาก California State University, Los Angeles, U.S.A. M.S. (Public Service) California State University, Los Angeles, U.S.A.
: : ดุษฎีบัณฑิต ทางรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก University of Colorado, Boulder, Colorado, U.S.A.


            ประวัติการทำงาน


: : ปลัดอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
: : หัวหน้าฝ่ายอัตรากำลังและฝึกอบรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน
: : หัวหน้ากองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
: : หัวหน้ากองบริหารทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
: : รองเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
: : ที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรี
: : ประธานคณะอนุกรรมการปรับปรุงระเบียบข้าราชการการพลเรือน
: : กรรมการการประปานครหลวง
: : ประธานอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการ การประปานครหลวง
: : ผู้ว่าการการประปานครหลวง


         งานการเมือง
: : ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
: : ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตป้อมปราบปทุมวัน
: : รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเลขาธิการพรรคชาติประชาธิปไตย
: : ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา
: : สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
: : เลขาธิการพรรคกิจประชาคม
: : กรรมาธิการการเศรษฐกิจ
: : กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากกรณีกฎหมายการค้า ปี 2531 ของสหรัฐอเมริกา
: : โฆษกพรรคเอกภาพ
: : กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติด่วนเพื่อศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดทุนของผู้ประกอบการ เลี้ยงกุ้งกุลาดำ
: : กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไข เพิ่มเติม
: : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
: : รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม
: : กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ
: : ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา
: : หัวหน้าพรรคเสรีธรรม
: : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา
: : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
: : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา
: : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
: : ที่ปรึกษาอาวุโส พรรคประชาธิปัตย์
: : ประธานฯ กรรมาธิการต่างประเทศ
: : รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
: : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม 


        ตำแหน่งปัจจุบัน
 

: : รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
: : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
: : ประธานกรรมการมูลนิธิ จอห์น อี.พิวรีฟอย
: : กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
: : อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต

ผลงานทางวิชาการที่ชื่นชอบ

การปฏิรูปสังคมไทยสู่สังคมธรรมาธิปไตย

                สถานการณ์ของบ้านเมืองที่วิกฤติมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็น “วิกฤติที่สุดในโลก” ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น ญี่ปุ่นที่เคยย่อยยับจากการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
( พ.ศ.2488 ) ส่วนสิงคโปร์และจีนที่เพิ่งพัฒนาแต่ก็ก้าวหน้าไปกว่าไทยซึ่งพัฒนามาก่อนและตั้งใจว่าจะเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย แต่ขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในสภาพที่เลวร้ายมาก ทั้งที่อยากจะเป็นประชาธิปไตย
    แต่การเลือกตั้งเมื่อเดือน ธันวาคม 2550 เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นแบบจอมปลอม มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงใช้อิทธิพลของรัฐและของผู้มีอิทธิพลต่างๆ ทำให้การเลือกตั้งที่ปรากฏออกมาไม่ได้เป็นการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
       รัฐบาลก่อนหน้านี้มักอ้างว่า “ เป็นประชาธิปไตยเพราะมาจากการเลือกตั้ง” ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่มาจากความไม่สุจริตด้วยการซื้อเสียง ทำให้ได้นักการเมืองที่เข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเอง ก่อให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ไทยต้องใช้น้ำมันราคาแพงกว่ามาเลเชีย เพราะรัฐบาลเอาการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติไปขายให้เอกชนผ่านตลาดหลักทรัพย์ นี่เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง หรือทำเพื่อใครกันแน่ และยังจะมีความพยายามในการนำเอาทรัพย์สินอื่นๆ ของชาติไปขายอีก ความเป็นธรรมในสังคมจึงหาได้ยาก
    พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นตัวแทนของความยากจน ในขณะที่เกษตรกรญี่ปุ่นมีรายได้ดีกว่าเกษตรกรของเรามาก อย่างเช่น เนื้อวัว ญี่ปุ่นที่เรารู้จักกันว่า เนื้อโกเบ ขายได้กิโลกรัมละหลายพันบาท
       จริงๆ แล้ว ไทยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร คือ แนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและระบบสหกรณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช หากนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาอย่างจริงจัง เราคงแก้ปัญหาให้ภาคเกษตรได้ อาจจะทำให้ชาวนาสามารถขายข้าวได้เกวียนละหมื่นห้าก็ได้
    ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น ที่ก่อนหน้านี้มีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ออกมาแสดงความเรียกร้องเพื่อหาทางออก แก้ปัญหาวิกฤติของสังคมไทย นั่นก็เป็นเรื่องของปลายเหตุเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์กรใดๆ ที่ออกมา ล้วนแต่เป็นปลายเหตุ

     ทำไมเราไม่แก้ที่ต้นเหตุ

        การที่เราเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกหรือยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองหน้าเก่าๆ คงได้มาเหมือนเดิม ซึ่งเป็นวังวนแบบเดิมที่ไม่ได้ให้ความหวังอะไรแก่ประชาชนและประเทศชาติ
       ประชาชนเป็นเจ้าของบ้านเมือง ต้องมีสิทธิที่จะวางอนาคตของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามต้องมีสิทธิในการวางอนาคตของตนเอง ที่ไม่ใช่เฉพาะแค่ด้านการเมือง แต่อยากเห็นสังคมนี้เป็น “ สังคมธรรมาธิปไตย”
       สังคมธรรมาธิปไตย คือสังคมที่มีความเป็นธรรม ต้องมีความเป็นธรรมมากขึ้น “ มีความเป็นธรรมอย่างไร” เป็นธรรมในทุกทาง ถ้าเผื่อทุกทางเป็นธรรม บ้านเมืองสงบสุข เจริญรุ่งเรือง ความเป็นธรรมที่ต้องเป็นธรรมทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม มีธรรมะมีความถูกต้อง มีความชอบธรรมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการรังแกข่มเหง ไม่มีการโกงกินทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีการไม่ดีไม่งามทั้งหลาย สังคมนี้ต้องไม่มีสิ่งที่ไม่ดีและเลวร้าย กฎหมายก็ต้องเป็นธรรม การปฏิบัติงานของรัฐก็ต้องโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อเป้าหมายธรรมาธิปไตยคือ ประโยชน์สุขของมหาชนปวงชน

       นั่นคือธรรมาธิปไตยอย่างแท้จริง สังคมนี้ก็จะมีความสุข ไม่มีเรื่องร้องเรียน ไม่มีเรื่องขัดแย้ง ไม่มีความไม่สงบสุขในสังคม ประชาชนก็จะทำมาหากินอย่างราบรื่น มีสันติสุขและก็ชีวิตที่ดีขึ้นเป็นลำดับ






วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชาการจัดการชั้นเรียน

วิชาการจัดการชั้นเรียน

ทษฎีและการบริหาร

                                                                    ทษฎีและการบริหาร
  
        คำว่า การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้
กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
        Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
        Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
        การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
        การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
        การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
        การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)

    ส่วนคำว่าการบริหารการศึกษาหมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัย
ทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
                     ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา    
 ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการ
ทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
                    ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
    ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
          1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
                    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
                    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
                    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
                      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
                      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
                      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี
ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
                    3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
                    3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
                    3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
                    3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
                    3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่าการเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
         การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ
คนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
                    1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
                    2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
                    3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
          ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิดมนุษยสัมพันธ์”*
    ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
                    2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
                    3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
                    4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
                    5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
                    1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
                    2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
                    3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
                    4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
                    1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
                    2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                    4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ


ประโยชน์ของทฤษฎี
  1. ทำให้เกิดความรู้ ความคิดใหม่ ๆ เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือถ้ามีทฤษฎีก็มีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อทดสอบหรือพิสูจน์ทฤษฎีอื่น
  2. สามารถใช้ประกอบการทำนายเหตุการณ์ พฤติกรรม และใช้แก้ไขปัญหาได้
  3. ทฤษฎีจะช่วยขยายประสิทธิภาพของการทำงาน กล่าวคือ ผู้บริหารที่รู้ทฤษฎีจะมีทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมได้
  4. ทฤษฎีเป็นหลักยึดในการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ที่ทำงานแนวคิดหรือทฤษฎีก็จะเกิดความมั่นใจในการทำงานมากกว่าทำไป อย่างเลื่อนลอย ทฤษฎีจะช่วยชี้แนะนำการปฏิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติ

         




           นางสาววรรณิษา  คำนวณ    ชื่อเล่น  ไผ่  อายุ 21 ปี  รหัส 5111116016   โปรแกรมสังคมศึกษา       คณะครุศาสตร์     เกิดวันที่  20/07/2532   11   ม.10   ต.การเกด  อ.เชียรใหญ่   จ.นครศรีธรรมราช  80190
ประวัติการศึกษา
      • จบชั้นอนุบาล  1-2    จากโรงเรียนวัดทายิการาม
      • จบชั้นประถมศึกษา  1-6  จากโรงเรียนวัดทายิการาม
      • จบชั้นมัธยมศึกษา  1-6   จากโรงเรียนเชียญใหญ่
      • ปัจจุปันกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่ 3
                                       สัตว์เลี้ยงสุดรัก                  สุนัก
                                อาหารจานโปรด                เกาเหลา
                                สีที่ชื่นชอบ                        สีส้ม 
                                 คติเตือนใจ                        พรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายการจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน     หมายถึง  การจัดการเรียนการสอนการสอนของครูผู้สอนใหนักเรียนสนใจโดยยึดผู้เรียนเรียนเป็นศูนย์กลาง